LIFE BALANCE METHODOLOGY
ไลฟ์ บาลานซ์ เมธโธดอลโลจี
โทร : 02-114-7635
มือถือ : 097-243-4226
STC Clinic
อังคาร - พฤหัสบดี 10:00 - 19:00 น.
ศุกร์ - อาทิตย์ 11:00 - 20:00 น.
***หยุดทุกวันจันทร์***
เวลาทำการ
Life Balance Methodology
จันทร์ - อาทิตย์ 09:00 - 18:00 น.
***ยกเว้นวันจันทร์ เข้ารับบริการที่ พหลโยธิน 32 เท่านั้น***
01
-
อาหารที่ตรวจพบการแพ้ชนิดแฝง (IgG) จะต้องตรวจพบการแพ้ชนิดเฉียบพลัน (IgE) ด้วยหรือไม่
อาหารชนิดเดียวกันสามารถตรวจพบการแพ้ได้ทั้งชนิดแฝงและชนิดเฉียบพลัน แต่ไม่จำเป็นต้องแพ้ทั้งสองชนิดในทุกรายค่ะ
02
-
ในกรณีที่อาหารชนิดเดียวกัน เช่น กุ้ง ตรวจพบว่าเกิดการแพ้ทั้งชนิดแฝงและชนิดเฉียบพลัน เราจะปฏิบัติตัว อย่างไร
หากตรวจพบการแพ้ทั้ง 2 ชนิด ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือรับประทานอาหารชนิดนั้นอย่างเด็ดขาด เพราะการแพ้ชนิดเฉียบพลันจะแสดงอาการทันทีหรือภายใน 2 ชม.หลังจากสัมผัสหรือรับประทานและยังส่งผลกระทบต่ออาการอื่นๆที่เป็นชนิดเรื้อรัง
03
-
ในกรณีที่อาหารชนิดเดียวกัน เช่น กุ้ง ตรวจพบว่าเกิดการแพ้ชนิดแฝงหรือเฉียบพลันอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ไม่แพ้ในอีกชนิด เราจะปฏิบัติตัวอย่างไร
หากตรวจพบการแพ้ชนิดใดชนิดหนึ่งให้ปฏิบัติ ดังนี้
-
การแพ้ชนิดเฉียบพลัน ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือรับประทานอย่างเด็ดขาด เพราะอาการที่เกิดขึ้นจะเกิดทันทีหรือภายใน 2 ชม.หลังสัมผัสหรือรับประทานและอาการอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
- การแพ้ชนิดแฝง ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือรับประทานตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และเมื่ออาการดีขึ้น เราสามารถกลับมาหมุนเวียนรับประทานอาหารชนิดนั้นๆได้
04
-
กรณีที่ตรวจพบว่าแพ้ข้าวเจ้า (Rice) ควรจะทานข้าวสายพันธุ์ใดทดแทน
ควรรับประทานข้าวสายพันธุ์อื่น เช่น ข้าวเหนียว ข้าวสาลี ข้าวไรย์ เป็นต้น
05
06
-
กรณีที่ตรวจพบการแพ้ในสารอาหารหลัก เช่น ข้าวสาลี เราควรจะหลีกเลี่ยงอนุพันธ์ของสารอาหารเหล่านั้น (แป้งสาลี, รำข้าวสาลี) ด้วยหรือไม่
ควรหลีกเลี่ยงอนุพันธุ์ของสารอาหารหลักที่ตรวจพบด้วยค่ะ
-
ถ้าอาการดีขึ้นหลังจากหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แพ้ไประยะหนึ่ง จะกลับมาทานอาหารชนิดนั้นอีกได้หรือไม่ และทานได้บ่อยเท่าไร
เมื่ออาการดีขึ้นกลับมารับประทานได้ค่ะ โดยในระยะแรกหลังจากรับประทานให้สังเกตอาการหลังจากรับประทานภายใน 48 ชม.หากพบว่าอาการที่เคยเป็นอยู่เกิดเป็นขึ้นอีก ให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้นต่อไป แต่หากไม่พบอาการผิดปกติ ให้หมุนเวียนรับประทานอาหารชนิดนั้นได้ตามปกติ
07
-
กรณีที่ตรวจเด็กเล็กที่ยังทานนมแม่ เมื่อตรวจพบอาหารที่แพ้แล้ว แม่จะต้องหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นด้วยหรือไม่
แม่จะต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ลูกตรวจพบด้วยค่ะ และควรจะตรวจคุณแม่ด้วยค่ะ
08
-
สิวที่ขึ้นบนใบหน้าหรือหลัง มีสาเหตุมาจากการแพ้อาหารแฝงหรือไม่
เป็นไปได้ค่ะ เพราะอาการแพ้ที่เกิดขึ้นเรื้อรังและหาสาเหตุไม่ได้ส่วนมาก มักเกิดจากการแพ้อาหารแฝง
09
-
ก่อนมาเจาะเลือดตรวจภูมิแพ้ ควรงดยาแก้แพ้ที่รับประทานอยู่หรือไม่
การตรวจภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลัน ควรงดยาแก้แพ้ที่รับประทานอยู่อย่างน้อย 3 – 5 วัน เพื่อผลการตรวจที่แม่นยำ แต่การตรวจภูมิแพ้ชนิดแฝง ไม่จำเป็นต้องงดยา