OXIDATIVE STRESS (OS) คืออะไร? ทำไมเราต้องตรวจหาสภาวะ OS
อนุมูลอิสระ (Free radicals, FR) คือสารประกอบที่พร้อมทำปฏิกิริยา ที่ถูกสร้างขึ้นมาในร่างกายมนุษย์ตามธรรมชาติ FR คือโมเลกุลหรือเศษส่วนย่อยของโมเลกุล ประกอบด้วยอิเล็คตรอนคู่เดี่ยวหนึ่งหรือมากกว่าในบริเวณชั้นนอกสุดของเซลล์ FR เป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียรอย่างมาก สามารถไวต่อการทำปฏิกิริยาโดยการไปจับเอาอิเล็คตรอน
จากโมเลกุลอื่น ปฏิกิริยานี้เรียกว่าออกซิเดชั่น (Oxidation)
Reactive oxygen species (ROS) เป็นสารที่เกิดจากออกซิเจน ประกอบด้วย FR และออกซิเจนที่พร้อมทำปฏิกิริยา ROS สามารถถูกสร้างขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจากภายนอก ได้แก่ การสัมผัสกับรังสี มลพิษทางอากาศ ภาวะออกซิเจนเป็นพิษ การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น นอกจากนี้ ROS ยังถูกสร้างมาจากการหายใจระดับเซลล์ด้วย ดังนั้นการเกิด ROS จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในการมีชีวิตที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
การเกิดขึ้นของ ROS มีทั้งผลดีคือช่วยเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และผลเสียคือทำให้เกิดการออกซิเดชั่นของไขมัน โปรตีน หรือดีเอ็นเอ เพื่อลดผลกระทบทางด้านเสีย สิ่งมีชีวิตจึงต้องการการปกป้องที่มีประสิทธิภาพคือ ระบบต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidant system) ระบบนี้ประกอบด้วยเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ Catalase, Glutathione peroxidase, Superoxide dismutase และ สารต้านอนุมูลอิสระที่ไม่ใช่เอนไซม์ เช่น วิตามินอี วิตามินเอ วิตามินซี กลูต้าไธโอน ฟลาโวนอย แคโรทีนอย และกรดยูริค
ความไม่สมดุลกันระหว่างการสร้างอนุมูลอิสระ (Free radical) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant defense) สามารถนำไปสู่การเกิดภาวะ oxidative stress ซึ่งส่งผลต่อ กระบวนการเสื่อมของเซลล์และการเกิดโรคภัยต่างๆ เครื่อง Point of Care ของ Callegari เป็นชุดทดสอบสำหรับตรวจสภาวะ assess oxidative stress โดยการตรวจวัดค่าทั้ง ROS damage index - FORT test และค่า antioxidant capacity - FORD test ในเลือด โดยมีการคำนวณค่าดัชนีเป็น REDOX index ให้อีกด้วย
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพสามารถที่จะ
• จำแนกว่าผู้ป่วยคนไหนมีความสมบูรณ์หรือเริ่มมีสัญญาณความเสื่อมของร่างกาย
• ประเมินว่าผู้ป่วยต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือการรับประทานอาหาร หรือจำเป็นต้อง
ทานอาหารเสริมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ
• ติดตามดูความคืบหน้าในการรักษาหลังการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการทานอาหารเสริม
• พิจารณาว่าจะต้องตรวจอะไรเพิ่มเติมไว้เป็นข้อมูลประวัติคนไข้หรือไม่ เช่น BMI, BP หรือต้องตรวจเลือด
แบบทั่วไปหรือตรวจเพิ่มเติมแบบพิเศษ
• แนะนำคนไข้ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำถูกวิธี
• ป้องกันและลดความเสี่ยงจากปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ
มีปัจจัยต่างๆมากมายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ปัจจัยเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับ ความอ่อนแอ เสื่อมสภาพ การเกิดโรคและเสียชีวิต เราเรียกว่า ปัจจัยเสี่ยง (Risk factors) โดยทฤษฎีแล้วปัจจัยเหล่านี้มีอยู่และทำงานร่วมกัน จึงจำเป็นต้องติดตามดูความสัมพันธ์ของมันตลอดเวลา หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ผิดปกติไป นั่นแสดงว่าร่างกายอยู่ในภาวะที่อันตราย